เรื่องขี้เกลือ ที่ไม่ขี้เกลือ บนแบตเตอรี่รถยนต์

วันนี้จะมาแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับคราบขี้เกลือบนแบตรถยนต์นะครับ รถยนต์ที่ผมใช้เป็นรถ ​Honda Civic รหัส FD ปี 2010 อายุก็ สิบปีหน่อยๆ ได้แล้วก็ต้องคอยดูแลกันไป เช้าวันนี้ (13/07/22) วันนี้เป็นวันหยุด แต่ได้มีโอกาสใช้รถยนต์ช่วงเช้า รถยนต์เองมีอาการแปลกๆ จากอาการเบื้องต้น คือ

  • เปิดแอร์ แล้วช่วงที่รีเลย์สั่งคลัชคอมฯ แอร์ให้ทำงาน ไฟแบตเตอรี่ตกลงถึง 11-12 โวล​ต์
  • วิทยุดับ และ ติดขึ้นเอง
  • พัดลมแอร์เบา และ เร่งขึ้นมาเอง (หลังจากไฟกลับมาเป็นปกติ)

ตอนแรกผมเล็งปัญหาไปที่ไดชาร์จของรถยนต์ เพราะด้วยอาการหลายๆ อย่าง และ อาการก่อนหน้านี้ไดชาร์จผมไม่ค่อยดีนักเพราะจ่ายไฟได้ไม่ค่อยนิ่ง แต่ที่ไหนได้หลังจากปรึกษาพี่ที่รู้จักกัน แกก็เปรยๆ ถึงเรื่องคราบ ขี้เกลือ ผมก็ตกใจ และ ผมลืมเรื่องนี้ไปเลย เพราะปีกว่าแล้วหลังจากผมเปลี่ยนแบตรถยนต์ ผมเห็นขี้เกลือขึ้นที่ขั้วแบต ฝั่งไฟบวกเยอะมาก วันนี้ผมก็เลยเปิดฝากระโปรงดูถึงกับตกใจ ตามภาพด้านล่าง

ขี้เกลือบนขั้วแบตรถยนต์ก่อนทำความสะอาด

หลังจากเห็นดังนั้นแล้ว ผมเลยรีบทำความสะอาดบริเวณนั้นโดยรอบ โดยการใช้การเขี่ย และ ใช้ผ้าสะอาดเช็ดออก แต่ก่อนจะทำความสะอาดให้ถอดขั้วแบตทั้งหมดออกก่อนนะครับ เพื่อป้องกันการลัดวงจร และ ลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกกับรถยนต์

และ แล้วตัวปัญหาก็แสดงออกมา คือ ขั้วแบตฝั่งบวก ที่โดนขี้เกลือกินหมดแล้ว ทำให้ขาด และ จ่ายกระแสไฟมาที่รถยนต์ได้ไม่ดี

หลังจากเอาคราบขี้เกลือออก เจอขั้วแบตเตอรี่เสียหาย และ ขั้วแบตอาจจะหักได้

หลังจากตั้งสติก็ ก็เลยขับรถออกไปร้านขายแบตรถยนต์ ซื้อขั้วแบตมาเพื่อเอามาใช้งานก่อน มีแต่ขั้วแบตสำหรับแบตขนาดใหญ่ แต่เท่าที่ดูแล้ว คุณภาพของทองเหลืองไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ต้องเอามาใช้แก้ขัดก่อน และ ต้องซื้อตัวสวมขั้วแบตมาด้วย ไม่งั้นไม่สามารถรัดขั้วแบตได้

นำขั้วแบตทองเหลืองกลับเข้ามาใส่ พร้อมพันเทปละลายกันไฟชอร์จ

เรียกได้ว่าซ่อมๆ ใช้ไปก่อน หลังจากเปลี่ยนขั้วแบตเรียบร้อย เอารถไปขับซัก 6 กิโล พร้อมกับดูเกจ OBD อาการทั้งหมดหายเป็นปลิดทิ้ง อีกทั้งแรงดันแบตเตอรี่รถยนต์กลับมาวิ่งแถวๆ 13.8-14 โวลล์ โดยไม่แกว่งไปแกว่งมาเหมือนเมื่อก่อนด้วย

OBD II แสดงค่าแบตเตอรี่ และ ไดชาร์จ ทำงานได้ปกติ เมื่อนำรถไปทดสอบ

ใครที่ใช้งานรถยนต์เก่าๆ ก็หมั่นสังเกตอาการกันบ้างนะครับ ไม่ว่าจะเป็นอาการจากไฟฟ้า หรือ จากช่วงล่างเอง ยิ่งรถอายุเยอะเราต้องหมั่นสังเกตเยอะ เพื่อป้องกันความเสียหายครับ ถ้าหาในเคสในไม่แก้ไขปัญหาอาจจะลามไปที่อื่นอย่าง เช่น กล่องควบคุมรถยนต์ (ECU) ก็เป็นได้ครับ

Rati Sirinai
Rati Sirinai

เป็นคนชื่นชอบของเล่นอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ ชอบลอง และชอบทำเอง รวมถึงการหาความรู้ใหม่ ๆ ไม่เว้นแม้แต่เครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ ชอบลองทำเอง เพื่อหาความรู้ และหาเหตุผลให้ได้ว่ามันเกิดขึ้นได้ยังไง

Articles: 110

Leave a Reply