การเช็คระยะรถยนต์เป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องทำตลอดอายุการใช้งานของรถยนต์ ภายในรถยนต์ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนหลายๆ ชิ้นส่วนประกอบเข้าด้วยกัน การใช้งานย่อมทำให้เกิดการสึกหรอของชิ้นส่วนต่างๆ การเปลี่ยนถ่ายของเหลว ตามระยะทางที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนดจะช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานของรถยนต์ให้ยาวกว่าปกติ หลายคนคงเคยนำรถไปเข้าศูนย์รถยนต์ตามแต่ยี่ห้อที่ตัวเองได้ขับขี่ เคยสงสัยไหมครับว่าการถ่ายน้ำมันเครื่อง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันยังไงในแต่ละยี่ห้อรถยนต์ไม่ว่าจะเป็น Honda, Toyota, Nissan และยี่ห้ออื่นๆ เค้าทำหรือเหมือนแตกต่างกันยังไง วันนี้ผมจะอธิบายเรื่องการถ่ายน้ำมันเครื่องคร่าวๆ และสามารถไปทำเองกันที่บ้านได้นะครับ
ถ้าพูดถึงน้ำมันเครื่องอย่างแรกเลยในการใช้งานหรือการแนะนำจากผู้ขาย (dealer) ต้องมีการอธิบายถึงตารางการเช็คระยะรถยนต์เป็นแน่แท้ น้ำมันเครื่อง คือ หัวใจหลักของเครื่องยนต์ภายในรถยนต์ทุกๆ คัน เครื่องยนต์จำเป็นต้องใช้สารหล่อลื่นเพื่อป้องกันการสึกหรอและให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างราบรื่น อีกทั้งยังลดอุณภูมิภายในเครื่องยนต์ขณะใช้งานหนักหรือบ้านเราเรียกว่าขับเร็ว ขับซิ่ง น้ำมันเครื่องถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันและยังทำให้เครื่องยนต์เหมือนใหม่ตลอดเวลาทุกสภาพอากาศและในทุกสภาวะสภาพอากาศ
อย่างแรกเลยผมต้องบอกให้อ่าน คู่มือภายในรถยนต์จะมีกำหนดไว้ถึงการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง โดยเครื่องยนต์แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อจะถูกกำหนดระยะทางและระยะเวลาตามบริษัทผู้ผลิตรถยนต์จะกำหนด ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ระยะทาง 10,000 กิโลเมตรก็จะถึงเวลาเปลี่ยนถ่าย
น้ำมันเครื่องมีหลายยี่ห้อราคาถูกแพงแล้วแต่เกรดของน้ำมันเครื่อง ยี่ห้อที่คุ้นหูกันดีก็จะมี
และยังมีอื่นๆ อีกมากมายยี่ห้อที่กล่าวไปข้างต้นเป็นยี่ห้อที่คุ้นหูกันดี ถ้าจะให้บอกว่ายี่ห้อไหนดี ผมแนะนำให้เลือกใช้ตามสภาพของรถยนต์ ซึ่งมีองค์ประกอบเพียงไม่กี่อย่าง เช่น ระยะทางที่ใช้งาน, ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งสองอย่างนี้เป็นตัวช่วยให้เราสามารถเลือกให้น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมกับรถยนต์ของเราได้ครับ
หมายเลขระบุความหนืด (viscosity) คือ การไหลของน้ำมันเครื่อง (flow) ถ้าสังเกตุภายในตัวเลข จะมีตัวเลขอยู่ 2 ชุด ที่จะถูกระบุ
ตัวเลขยิ่งน้อย อัตราการไหลของน้ำมันเครื่องก็ดีกว่า ยกตัวอย่างเช่น 5W-30 การไหลของน้ำมันเครื่องทำได้ง่ายกว่า 10W-30 เมื่อเครื่องยนต์เริ่มทำงาน ส่วน 10W-30 การไหลของน้ำมันเครื่องจะดีกว่า 10W-40 ที่อุณภูมิปกติที่เครื่องยนต์ทำงาน สิ่งหนึ่งที่สำคัญของน้ำมันเครื่องก็ คือ น้ำมันเครื่องจะหนาขึ้นตามธรรมชาติเมื่ออุณภูมิเย็นลงไม่สามารถไหลได้ดี แต่เมื่อน้ำมันเครื่องได้รับความร้อนน้ำมันความหนืดต่ำจะไหลได้ง่ายกว่า เพื่อป้องกันชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์เมื่ออุณภูมิที่เย็น น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดสูงจะดีกว่าในการคงสภาพฟิล์มเพื่อป้องกันการสึกหรอของเครื่องยนต์
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่
น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ เป็นการผสมกันระหว่างน้ำมันเครื่องและสารสังเคราะห์ที่ทำเอง เนื่องจากการเพิ่มสารสังเคราะห์เข้ามา เพื่อทางบริษัทผู้ผลิตจะมั่นใจได้ว่า ผู้ใช้งานจะได้รับประสิทธิภาพและการปกป้องที่ดีกว่าการใช้น้ำมันหล่อลื่นเพียงอย่างเดียว
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ จะใช้น้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์ ผสมกับสารเติมแต่งหลายชนิเ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำมัน ซึ่งสารเติมแต่งของแต่ละยี่ห้อก็แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสารเติมแต่งของแต่ละยี่ห้อที่ผสมลงไป เพื่อป้องกันเครื่องยนต์
1) Engine oil viscosity grade: https://www.castrol.com/en_gb/united-kingdom/home/car-engine-oil-and-fluids/engine-oils/engine-oil-viscosity-grades.html
2) Type of synthetic oil: https://mobiloil.com/en/article/car-maintenance/learn-about-motor-oil-facts/types-of-synthetic-oil
3) น้ำมันเครื่องสำหรับรถยนต์นั่ง ยี่ห้อ ปตท. : https://pttlubricants.pttor.com/product.cshtml?sub_cat_id=1&language=th
4) น้ำมันเครื่อง ยี่ห้อ บางจาก : http://www.bangchaklubricants.com/th/products
5) น้ำมันเครื่อง ยี่ห้อ เชลล์: https://www.shell.co.th/th_th/motorists/oils-lubricants/helix-for-cars.html
6) น้ำมันเครื่อง ยี่ห้อ Castrol สำหรับรถยนต์: https://www.shell.co.th/th_th/motorists/oils-lubricants/helix-for-cars.html