วันนี้มีโอกาสได้อ่านเรื่อง TPMS มาพอดี เรียกได้ว่าก่อนอ่าน ความเข้าใจของผม คือ เป็นระบบที่เอาไว้เตือนแค่ลมยางอ่อนเฉยๆ แต่พอได้อ่านหรือศึกษาจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยบนท้องถนน กลับไม่ใช่เลย มันไม่ใช่แค่ตัววัดลมยาง แต่มีการวิเคราะห์เชิงสถิติจากอุบัติเหตุในอดีตเพื่อวิเคราะห์ถึง อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนน ปัจจัยนึงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุก็ คือ ยางรถยนต์ และถ้าให้พูดไปถึงก่อนหน้านั้นหลายปีหน่อยมีเหตุการที่เกี่ยวข้องกันเกี่ยวกับปัญหาของยาง Firestone ที่ต้องถูกเรียกกลับในปี 1990 ประกอบกับมีคนเสียชีวิตจากเหตุการยางระเบิดมากกว่า 100 คน จึงทำให้สภา Congress ออก TREAD Act. ทำให้เกิดการผลักดันเทคโนโลยี TPMS ที่ใช้งานในปัจจุบัน สำหรับรถยนต์นั่งขนาดเล็กน้ำหนักรถยนต์ต่ำกว่า 4.5 ตัน (10,000 ปอนด์) เพื่อช่วยเตือนผู้ขับขี่ให้ทราบถึงสภาพในที่นี้เอกสารจะใช้คำว่า “under-inflation” หรือการสึกหรอของหน้ายางที่ขอบด้านนอกมากกว่า ตรงกลาง ซึ่งเกิดจากแรงดันลมภายในยางมีน้อย.
หลักๆ ที่ผมหาข้อมูลมาจะมีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ
Under-inflation คือ ลักษณะผิวของยางรถยนต์ที่สัมผัสกับพื้น และ มีส่วนสึกหรอเฉพาะขอบยาง ซึ่งเกิดการแรงดันลมภายในน้อยเกินไป
Over-inflation คือ ผิวของยางรถยนต์ตรงกลางสัมผัสกับพื้นถนนมากกว่าขอบยาง ซึ่งเกิดจากแรงดันลมภายในมากเกิดไป
Proper-inflation คือ หน้ายางสัมผัสพื้นถนนปกติ หน้ายางสึกหรอเท่ากัน เพราะแรงดันลมปกติ
TPMS หรือ Tire Pressure Monitoring System คือ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อคอยตรวจสอบแรงดันลมภายในยางรถยนต์ ระบบ TPMS จะส่งข้อมูลแบบตลอดเวลา (real-time) เกี่ยวกับแรงดัน แสดงออกมาให้ผู้ขับขี่ทราบถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลมยาง ผ่านทางแผงหน้าปัดรถยนต์ (dashboard) ถ้าหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับแรงดันลม จะมีการแจ้งเตือนโดยโชว์สัญลักษณ์ ลมยางพร้อมกับเครื่องหมายตกใจ
TPMS จะมีอยู่สองประเภทหลัก คือ Indirect TPMS และ Direct TPMS
ถ้าให้จำแบบง่ายๆ คือ Indirect TPMS คือระบบการวัดโดยไม่ได้ใช้เซนเซอร์ที่อยู่ภายในยาง โดยการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของความเร็วล้อ ผ่านระบบ ABS ด้วย เซ็นเซอร์วัดความเร็ว (speed sensors) เมื่อไหร่ที่ยางรถยนต์มีแรงดันภายในต่ำ เส้นผ้าศูนกลางของยางรถยนต์จะลดลง
ซึ่งตามกฎหมายรัฐบาลกลาง (federal law) กำหนดให้ระบบ TPMS จะต้องเตือนผู้ขับขี่ ถ้าหากแรงดันภายในยางรถยนต์ ลดลงมากกว่า 25% ซึ่งต่ำกว่าแรงดันภายในยางที่แนะนำจากผู้ผลิต
จุดอ่อนอย่างหนึ่งของระบบ Indirect TPMS แบบเก่า คือ ระบบจะไม่แจ้งเตือนผู้ขับขี่ทราบ ถ้าหากว่ายางรถยนต์ มีแรงดันภายในยางรถยนต์ต่ำใกล้เคียงกันทุกล้อ เช่น
ระบบนี้ตรงข้ามกับ Indirect TPMS ครับ คือ มีเซ็นเซอร์ลมยางโดยตรง มีทั้งแบบภายใน (internal) และ ภายนอก (external) เซ็นเซอร์ตัวส่งข้อมูลจะทำหน้าที่วัดลมยางในแต่ละล้อ แล้วจึงส่งรายงานมาที่ จอแสดงบนภายในรถยนต์ บางครั้งไม่เพียงแต่วัดลมยาง แต่ยังสามารถวัดและเตือนเกี่ยวกับอุณภูมิได้อีกด้วย
ตัว Direct TPMS นี้สามารถเตือนได้เมื่อพบความผิดปกติของลักษณะยางที่กล่าวไปข้างต้น ได้ทั้ง 1 หรือ 4 ล้อ อีกทั้ง TPMS หลายตัวในตลาดยังสามารถแสดงผลเกี่ยวกับแรงดันลมภายในยางได้ทันที ทั้งขณะวิ่งอยู่บนถนน หรือ จอดอยู่กับที่
ส่วนเรื่องการจ่ายไฟ หรือ การให้พลังงาน มีทั้งใช้ แบตเตอรี่ และ RFID Tag (ถ้านึกไม่ออกก็เหมือนกับบัตรพนักงาน หรือ บัตรเข้าคอนโดครับ) เพื่อตัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องอายุของแบตเตอรี่.