Honda Civic FD กับ อาการเกียร์กระตุก ช่วงเช้า

ไม่ได้เขียนบทความเกี่ยวกับรถยนต์นาน วันนี้ผมเลยจะเหลารายละเอียดให้ฟัง ในวันที่นั่งเขียนบทความตอนนี้เจ้ารถคันนี้ของผม เกียร์หายกระตุกเรียบร้อย เข้าเกียร์ R หรือ D ช่วงเช้าเข้าเข้าเกียร์เป็นปกติ ไม่มีการกระแทกเหมือนเมื่อก่อน

อาการที่รถยนต์

  • เข้าเกียร์ R หรือ D ช่วงเช้ารถยนต์กระตุกแรงมาก เมื่อเกียร์ทำงาน
  • มี Engine Code P0746 Pressure Control Solenoid “A” Performance / Stuck Off (ไฟเครื่องไม่โชว์)
  • เกียร์เปลี่ยนบ้าง ไม่เปลี่ยนบ้าง รถอืด ใช้รอบเครื่องยนต์สูงขึ้นกว่าปกติ (รถยนต์เข้า Limb Mode)

อาการที่ว่ามาข้างต้น คือ อาการหลักๆ เลย ที่คนใช้งานรถยนต์สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง ผมตามหาข้อมูลอยู่นาน ทำมาก็หลายอย่าง (ทำเอง) โดยไม่เสียค่าแรงช่าง เสียแต่ค่าของครับ เปลี่ยนเล็กๆ น้อยๆ เช่น ปะเก็น Solenoid A, B และ โอริง ตามจุดต่างๆ เดี๋ยวผมจะอธิบายไปเรื่อยๆ ไล่จากการเสียเงินน้อย ไปถึงการเสียเงินเยอะครับ เพื่อคนใช้รถจะได้ไม่ต้องเปลืองค่าใช้จ่ายครับ สามารถทำตามได้เลยครับ

ตรวจสี และ อายุของน้ำมันเกียร์

อยากแรกเลยตรวจสอบรอบการถ่ายน้ำมันเกียร์ของรถยนต์ตัวเอง นอกเหนือจากการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ น้ำมันเกียร์ การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ ต้องไม่เกิน 3 ถึง 4 หมื่นกิโลเมตร (บางคนเปลี่ยนถ่ายทุกๆ 2 หมื่นกิโลเมตร) แล้วแต่กำลังทรัพย์ ของคนใช้รถ น้ำมันเกียร์ Honda DW-1 เบิกศูนย์ ราคาประมาณ 700 บาท

สีของน้ำมันเกียร์ต้องเป็นสีแดงใส ไม่ดำ และ น้ำตาล (สีน้ำหล่อเย็นเข้าไปปนกับน้ำมัน)

วิธีการตรวจสอบระดับน้ำมันเกียร์

  1. สตาร์ทรถยนต์จนถึงอุณภูมิเครื่องยนต์ทำงานปกติ (Normal Operating Temperature) หรือ จนกว่าพัดลมหม้อน้ำจะทำงาน
  2. จอดรถยนต์ ให้ได้ระดับเดียวกับพื้น แล้วดับเครื่องยนต์ **การเช็คระดับน้ำมันเกียร์จะต้องตรวจสอบระหว่าง 60-90 วินาที หลังจากดับเครื่องยนต์แล้ว
  3. ดึงก้านวัดระดับน้ำมันเกียร์ (ห่วงสีเหลือง, A) แล้วเช็ดทำความสะอาดด้วยผ้าสะอาด

4. ใส่ก้านวัดระดับน้ำมันเกียร์กลับเข้าไปที่ตำแหน่งเดิม

5. นำก้านวัดน้ำมันเกียร์ (A) ออก แล้วตรวจสอบระดับน้ำมัน โดยที่ น้ำมันจะต้องอยู่ระหว่างขีดบน (B) และ ขีดล่าง (C)

หากมาถึงตรงนี้แล้ว ถ้าหากเราเห็นระดับน้ำมันเกียร์ต่ำกว่าให้หาจุดรั่วของน้ำมันเกียร์ได้เลย โดยตำแหน่งหลักๆ ที่เราสามารถเห็น และ แก้ไขได้โดยไม่ต้องยกเกียร์ออก คือ

  • ซีลเพลาขับ ซ้าย และ ขวา
  • ซีล Torque Converter
  • ซีลคันเกียร์
  • ซีลท้ายเครื่อง
  • ปะเก็น และ โอริง ของ Solenoid A, B

สำหรับรายละเอียดในจุดต่างๆ ผมจะอธิบายในหัวข้อถัดไปครับ

เปลี่ยนกรองน้ำมันเกียร์ ATF ตัวนอก

Honda Civic FD มีกรองน้ำมันเกียร์อยู่ 2 ตัวแหน่ง คือ กรองเกียร์ตัวนอก และ กรองเกียร์ด้านใน (ต้องเปิดเสื้อเกียร์เท่านั้น ถึงจะเปลี่ยนได้) สำหรับหัวข้อนี้จะพูดถึง กรองเกียร์ตัวนอก ครับ

สำหรับราคาเบิกศูนย์ตัวนี้ ใช้รหัส 25430-PLR-003 (เบอร์ 7) ราคาจะอยู่ประมาณ 600 บาท ไม่รวมค่าแรงช่าง

ขั้นตอนในการเปลี่ยนกรองน้ำมันเกียร์

  1. ถอดท่ออากาศ และ ชุดกรองอากาศออก
  2. ถอดสายน้ำมันเกียร์ที่ต่อเข้ากับ ATF Warmer (A) ออกจากกรองเกียร์ (B)

3. ถอดตัวยึดกรองน้ำมันเกียร์ออก (C)

4. ถอดโบลท์ ที่ยึดท่อมันเกียร์ขาเข้า (E)

5. ถอดโบลท์ (F) ออกจากท่อน้ำมันเกียร์ขาเข้า

6. ถอดกรองน้ำมันเกียร์ออกจากท่อที่ต่อเข้ากับ ATF Warmer (G) และ เปลี่ยนกรองน้ำมันเกียร์ตัวใหม่เข้าไป

7. ใส่ท่อที่ต่อมาจาก ATF Warmer เข้ากับกรองน้ำมันเกียร์ใหม่ จนปลายท่อแนบกับชุดกรองน้ำมันเกียร์ แล้วยึดท่อให้แน่นด้วยคลิปล๊อค (H) ด้วยระยะ 6-8 มิลลิเมตร จากกรองน้ำมันเกียร์

8. ติดตั้งกรองน้ำมันเกียร์ และ ท่อ ATF ด้วยโบลต์ (F) พร้อมกับเปลี่ยน Sealing Washer (J)

9. ยึดตัวกรองน้ำมันเกียร์ เข้ากับชุดยึด และ ยึดให้แน่นด้วยโบลท์

10. ใส่ท่อที่ต่อมาจาก ATF Wamer เข้ากับกรองน้ำมันเกียร์ใหม่ จนปลายท่อแนบกับกรองน้ำมันเกียร์ แล้วยึดต่อให้แน่นด้วยคลิปล๊อค (K) ด้วยระยะ 6-8 มิลลิเมตร จากกรองน้ำมันเกียร์

11. ประกอบชุดกรองอากาศ และ ท่ออากาศ เข้าตำแหน่งเดิม

สำหรับการเปลี่ยนกรองน้ำมันเกียร์ตัวของ ไม่มีระบุอายุ และ ระยะทางในการบำรุงรักษารถยนต์ ผมคงแนะนำได้แค่ว่าให้เปลี่ยนทุกๆ 4 หมื่นกิโลเมตร ก็ได้ครับ เพื่อให้น้ำมันเกียร์เดินทางได้สะดวกก็ได้ครับ

เปลี่ยนปะเก็น และ โอริง Solenoid A, B และ C

สำหรับหัวข้อนี้สามารถทำร่วมกันกับตอนเปลี่ยนกรองน้ำมันเกียร์ด้านบนได้เลยนะครับ เพราะขั้นตอนแรกในการเข้าถึงตัว Solenoid ทั้ง 3 ตัว ในขั้นตอนแรกจะต้องถอดกรองอากาศออกก่อนครับ

รายการอุปกรณ์ หรือ อะไหล่ที่ต้องเบิก

  • ปะเก็น Solenoid A 28252-RPC-000 ราคา XXX บาท จำนวน 1 ชิ้น เบอร์ 5
  • ปะเก็น Solneoid B, C 28262-RPC-000 ราคา XXX บาท จำนวน 1 ชิ้น เบอร์ 7
  • โอริง 91301-PC9-003 ราคา XXX บาท จำนวน 6 ชิ้น เบอร์ 14

ขั้นตอนการเปลี่ยนปะเก็น และ โอริง สำหรับ Solenoid A, B และ C

  1. ถอดชุดกรองอากาศ และ ท่ออากาศออก
  2. ถอดโบล์ที่ยึดชุดใส่สายไฟ (A) ออก และ นำออกจากฐานชุดยึด (D)
  3. ถอดสายไฟออกจาก Solenoid Valve A, B และ C ออก
ชุดสายไฟ
  1. ถอดโบลท์ยึดออกจาก Solenoid Valve A, B และ C ออก
A/T Clutch Pressure Solenoid A
A/T Clutch Pressure Solenoid B, C

5. ถอดท่อน้ำมันเกียร์ออก, ท่อร่วมน้ำมันเกียร์, โอริง และ ปะเก็น ออก

6. ทำความสะอาดผิวหน้าสัมผัส และ คราบน้ำมันเกียร์ที่อยู่บนตัว Solenoid

7. ติดปะเก็นใหม่โดยหันด้านสีฟ้าลง และ ด้านสีข้าวหันเข้าหาชุดเกียร์

8. ประกอบท่อน้ำมันเกียร์, ท่อรวม และ โอริงตัวใหม่ แทนตำแหน่งเดิม

9. ติดตั้ง Solenoid กลับเข้าที่เดิม

10. ตรวจสอบคราบสกปรก, สนิม หรือ คราบน้ำมัน หลังจากนั้นให้ประกอบเข้าให้แน่น

11. ประกอบชุดยึดสายไฟคืน แล้ว ประกอบชุดกรองอากาศคืนตำแหน่งเดิม

เป็นอันเสร็จเรียบร้อยสำหรับการเปลี่ยนโอริง และ ปะเก็นบน Solenoid ระยะเวลาในการทำจะอยู่ราวๆ 30 นาที – 1 ชั่วโมง ตัว Solenoid ทั้ง 3 ตัว หน้าที่ของมันก็ตามชื่อที่บอกเลยครับ คือ Clutch Pressure คือ การเปลี่ยนทางเดินน้ำมันเพื่อกดคลัชท์ครับ เพิ่มเติมอีกนิดนึง คือ ถ้าหากใครไปจ้างช่างทำ หรือ ทำเอง ภายในคู่มือไม่มีเรื่องเกี่ยวกับการทำความสะอาดนะครับ

สำหรับการทำความสะอาด Solenoid ผู้อ่านสามารถทำตามคลิปจากใน Youtube ได้เลย ครับ

เปลี่ยนซีลเพลาขับ ซีลทอร์ค ซีลท้ายเครื่อง ซีลคันเกียร์

สำหรับหัวข้อนี้ ผมไม่ได้อธิบายถึงขั้นตอนนะครับ เพราะน้อยคนมากที่จะสามารถทำคนเดียวได้ สำหรับจุดที่ว่ามา เจ้ารถยนต์ Honda Civic FD ต้องยกเกียร์ลงมานะครับ จำเป็นต้องมี Hoist สำหรับยกรถ เพื่อสะดวกต่อการทำงานนะครับ ค่าแรงที่ผมจ่ายไปอยู่ประมาณ 2,500 บาท ใช้เวลาทำ 3-4 ชั่วโมง สิ่งที่ต้องทำหลัก ๆ คือ

  • ถอดชุดกรองอากาศ
  • ถอดโครงใต้รถ
  • ถอดแรคควบคุมพวงมาลัย

แล้วยกเกียร์ลงมา เพื่อทำการเปลี่ยนซีลทั้งหมดครับ

ค่าใช้จ่าย และ รหัสในการเบิกอะไหล่

  • ซีลคันเกียร์ XXX-XXX ราคา XXX บาท จำนวน 1 ชิ้น
  • ซีลเพลาขับ ซ้าย-ขวา XXX-XXX ราคา XXX บาท จำนวน 1 ชิ้น
  • ซีลทอร์ค XXX-XXX ราคา XXX บาท จำนวน 1 ชิ้น
  • ซีลท้ายเครื่อง XXX-XXX ราคา XXX บาท จำนวน 1 ชิ้น

ตำแหน่งของซีลต่างๆ

ซีลคันเกียร์

Rati Sirinai
Rati Sirinai

เป็นคนชื่นชอบของเล่นอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ ชอบลอง และชอบทำเอง รวมถึงการหาความรู้ใหม่ ๆ ไม่เว้นแม้แต่เครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ ชอบลองทำเอง เพื่อหาความรู้ และหาเหตุผลให้ได้ว่ามันเกิดขึ้นได้ยังไง

Articles: 110

Leave a Reply